Q: ทำไมต้องจัดทำเว็บไซต์ Culturalmap@Chonburi
A:
กระทรวงวัฒนธรรมได้สนับสนุนการจัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้นเพื่อเสร้างระบบบริการแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะการบริการแบบบูรณาการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ที่มีการบูรณาการการทำงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้ออย่างเป็นระบบในทิศทางเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และหัตถอุตสาหกรรม และสนับสนุนและพัฒนาการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม รวมทั้งแปลเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบไปด้วย การออกแบบฐานข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว โดยเชื่อมโยงกับระบบแผนที่ โดยการเก็บข้อมูลภาพถ่าย ความสำคัญของสถานที่ และพิกัดละติจูด และลองติจูด ของพื้นที่นั้นๆ รวมถึงการศึกษาและรวบรวมเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยอารยธรรม และการถ่ายทำสารคดีสั้นเพื่อนำเสนอประวัติและความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
Q: ทำไมถึงเลือกจังหวัดชลบุรี
A:
โดยในขั้นตอนแรกกระทรวงวัฒนธรรมได้คัดเลือกจังหวัดชลบุรีให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการพัฒนาฐานข้อมูล เพราะจังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกที่ติดกับอ่าวไทย และเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นพื้นที่เขตการค้าการลงทุน มีท่าเรือ และเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีนอกจากจะอยู่ตามแหล่งใหญ่สำคัญๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น พัทยา บางแสน หรือในบริเวณใกล้เคียงแล้ว จังหวัดชลบุรีก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆอีก เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ วัด ชุมชน และเมืองโบราณ ซึ่งทั้งหมดได้ถูกรวบรวมอยู่ในเว็บไซต์นี้แล้ว
Q: มีอะไรบ้างในเว็บไซต์
A:
ภายในเว็บไซต์ประกอบด้วย
ฐานข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี จำนวน 2000 จุด ในภาษา ไทย จีน อังกฤษ และรัสเซีย
ฐานข้อมูลเส้นทางวัฒนธรรมในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ วัฒนธรรมทวารวดี และตำนานพระรถเมรี
สารคดีสั้นเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมา ความน่าสนใจ ของสถานที่ท่องเที่ยว จำนวน 30 สารคดี
ข่าวสาร และกิจกรรม ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
โปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือ (Mobile Application) ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งจะเปิดตัวในอนาคต
Q: ใครเป็นผู้ดูแลโครงการนี้
A:
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่